วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2552

Earth Hour; a Happy Hour for Our Planet

Earth Hour; a Happy Hour for Our Planet

ถ้าการรณรงค์เรื่องภาวะโลกร้อนยังไม่มาถึงตัวเรา หรือเราไม่รับรู้ได้ถึงการเปลี่ยนไปของสภาวะอากาศใน ทุกๆ ปีแล้ว เราคงเป็นอีกหนึ่งในกลุ่มผู้ตกขบวนของกระแสการกระตุ้นการรับรู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงร่วมกันของผู้คนทั้งโลกในเรื่องภาวะโลกร้อน

และถ้าเราเพียงรับรู้ แต่ยังคงดำเนินชีวิตประจำวันด้วยการบริโภคเกินขนาด เกินกว่าที่โลกจะสามารถรองรับได้ และถ้าคนทั้งโลกยังคงดำเนินชีวิตอุปมาเหมือน “กบต้ม” (ที่อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา อัลกอร์ ได้เปรียบเทียบไว้ในภาพยนตร์กึ่งสารคดี The Inconvenient Truth) โลกของเราก็คงมีเวลาไม่มาก ถ้าจะกล่าวให้ถูกต้องก็คือ ... เราคงมีเวลาไม่มากนักในการสร้างการเปลี่ยนแปลงหากเรายังเพิกเฉยต่อสัญญาณเตือนจากธรรมชาติ

จากกิจกรรมระดับประเทศออสเตรเลียในปี พ.ศ. 2550 เมื่อ WWF ได้ออก Campaign เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนหันมาใส่ใจในปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลก นั่นก็คือก้าวแรกของการจัดกิจกรรม Earth Hour กับการต้อนรับด้วยการร่วมกันปิดไฟกว่า 2.2 ล้านครัวเรือน/บริษัทธุรกิจ ในปี 2551 WWF จึงได้ขยายการรณรงค์ไปยังภูมิภาคอื่นของโลก โดยมี มหานครใหญ่ 24 แห่ง เข้าร่วมการรณรงค์ ได้แก่ แอตแลนต้า ซานฟรานซิสโก ออตตาวา แวนคูเวอร์ ฟีนิกซ์ มอนทรีออล ดับบลิน ซิดนีย์ เพิทธ์ เมลเบิร์น บริสเบน แคนเบอร่า โคเป็นเฮเกน อาฮุส อัลเบิร์ก โอเดนส์ มนิลา ซูวา เลาโทก้า ชิคาโก เทล อาวิฟ อดาเลด โตรอนโต และกรุงเทพมหานคร
ในปีนี้ Earth Hour ได้เปลี่ยนแปลงไปสู่การตัดสินของประชากรโลกว่าจะเลือกข้างใด
ระหว่าง....โลก & สภาวะโลกร้อน

และนี่คือการพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ที่ผู้คนทุกอายุทุกผิวพรรณ ที่เชื้อชาติ สัญชาติ ภาษาและวัฒนธรรม
จะได้ลงประชามติเลือกข้างระหว่างการที่จะปิดไฟเพื่อให้ Earth Hour ได้เป็น Happy Hour for Our Planet หรือจะนิ่งดูดายและเป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายเลือกข้างสภาวะโลกร้อน ด้วยเป้าหมายที่ WWF พร้อมพันธมิตรทั่วโลกได้กำหนดว่า 1 พันล้านคะแนนเสียงจะเลือกข้างที่จะส่งผลสั่นสะเทือนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปยังการประชุม the Global Climate Change Conference Copenhagen 2009 ซึ่งกลุ่มผู้นำของโลกจะได้พิจารณาแนวทางเพื่อสร้างยุทธศาสตร์ใหม่ขึ้นมาแทนพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)

การจัดกิจกรรม Earth Hour “ปิดไฟ...ให้โลกพัก” ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการปิดไฟพร้อมกันทั่วโลก 1 ชั่วโมง จากเวลา 2 ทุ่ม – 3 ทุ่มตรง วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2552 นี้ เวลา18.30-21.30 น. ซึ่ง WWFประเทศไทยได้ร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ จัดกิจกรรม ณ ถนนข้าวสาร พบกับการแสดงคอนเสิร์ต แฟชั่นโชว์ และการเสวนาปัญหาโลกร้อน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ
มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการลงประชามติ ปิดไฟเทคะแนนเสียงเพื่อเริ่มสร้างโลกที่น่าอยู่และยั่งยืนกันเถอะ
ครับ....
การแสดงคำมั่นสัญญาของประชาชนทำได้โดยการลงทะเบียน

หมายเหตุ; ข้อมูล ณ วันที่ 20 มีนาคม 2552 มีหน่วยงานและผู้สนใจยืนยันร่วมปิดไฟมากกว่า 80 ประเทศ มากกว่า 1,760 เมืองใหญ่ 18,160 ของบริษัทธุรกิจ 5,259 องค์กร และ7,382 โรงเรียน