วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2552

"Turn off your lights 8.00 to 9.00 PM

Turn off your lights 8.00 to 9.00 PM

"ง่ายจะตายปิดไฟแค่นี้ไม่เห็นจะยากเลย..."

"ง่ายจะตายปิดไฟแค่นี้ไม่เห็นจะยากเลย.....ครับ...."

วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2552

เลขาธิการสหประชาชาติ เรียกร้องให้ประชาชนทั่วทุกมุมโลก เข้าร่วม Earth Hour

20 มีนาคม 2009: เลขาธิการสหประชาชาติ นาย บัน คี มูน ได้ออกมาเรียกร้องให้ประชาชนทั่วทุกมุมโลกเข้าร่วมการรณรงค์ Earth Hour ปิดไฟ 1 ชั่วโมงพร้อมกันทั่วโลก เพื่อเป็นแรงขับดันไปสู่การเวทีเจรจาการแก้ปัญหาวิกฤตโลกร้อน อย่างจริงจัง

ในบทสัมภาษณ์ของเลขาธิการสหประชาชาติ ได้กล่าวถึง Earth Hour ที่จะมีขึ้นในวันเสาร์ที่ 28 มีนาคม นี้ว่า
“ Earth Hour 2009 เปรียบเสมือนการเดินขบวนของประชากรโลกครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยมีมา เพื่อแสดงให้เห็นถึงเจตนารมย์ และความพยายามในการแก้ไขวิกฤตโลกร้อนที่เป็นรูปธรรม”

บัน ยังได้กล่าวถึงการเจรจาต่อรองในที่ประชุมผู้นำโลก ว่าด้วยเรื่องการการลดก๊าซเรือนกระจก และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่จะจัดขึ้น ณ กรุงโคเปนเฮเกนในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ว่า มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะวิกฤตโลกร้อนที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้ คือมหันตภัยของโลกอย่างแท้จริง โดยตอกย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องหาข้อตกลงและบทสรุปที่ชัดเจนบนเวทีโลก และข้อตกลงนั้นๆ จะต้องอยู่บนพื้นฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ มีความชอบธรรมและมีประสิทธิผล มีการเปลี่ยนแปลงวิถีปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์กับทุกภาคส่วนอย่างเป็นธรรม และใช้พลังงานทดแทนที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับโลก

ทั้งนี้ สำนักงานใหญ่ที่ทำการองค์การสหประชาชาติในมหานิวยอร์ก รวมทั้งสำนักงานขององค์การสหประชาชาติทุกแห่ง ก็จะสนับสนุนและเข้าร่วมการรณรงค์ Earth Hour อีกด้วย

ในส่วนของประเทศไทย กรุงเทพมหานคร จะปิดถนนข้าวสารเพื่อจัดงาน Earth Hour ในวันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2552 ตั้งแต่เวลา 18.30 น. ถึง 21.30 น. โดยจะมี ฯพณฯนายกรัฐมนตรีให้เกียรติเป็นประธานในงาน








ขบวนรณรงค์ ปิดไฟ....ให้โลกพัก ณ สยาม ย่านช้อปปิ้งใจกลางกรุง



วันที่ 21 มีนาคม 2552 เวลา 13.00 น. การเดินขบวนปิดไฟ...ให้โลกพัก ครั้งที่ 3 เริ่มขึ้นอีกครั้ง ณ สยาม ย่านศูนย์การค้า และแหล่งนัดพบของวัยรุ่น สำหรับการเดินรณรงค์ในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย นำโดย คณะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร , สำนักสิ่งแวดล้อม ,คณะผู้บริหารเขตปทุมวัน,ศิลปินดาราเด็กจากช่อง 3 ,เยาวชนกลุ่มรักษ์กรุงเทพมหานครและหน่วยงานต่างๆ อีกมากมาย

การเดินรณรงค์เริ่มตั้งแต่ที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม สู่ห้างสรรพสินค้าพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ สยามแสควร์ ห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง และสิ้นสุดที่บริเวณหน้าโรงแรมโนโวเทล

บรรยากาศในวันนี้คึกคักเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นวันเสาร์จึงมีประชาชนเป็นจำนวนมาก การรณรงค์ได้รับการตอบรับจากประชาชนเป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงาน และที่มากันเป็นครอบครัว รวมทั้งชาวต่างชาติที่ให้ความสนใจเป็นอย่างมากกับกิจกรรมนี้ มีการซักถาม ขอข้อมูลนำไปประชาสัมพันธ์ต่อไป สร้างรอยยิ้มและความชื่นใจให้กับกลุ่มคนเดินรณรงค์



ขบวนรณรงค์ ปิดไฟ...ให้โลกพัก ณ ถนนเยาวราช แสงสีที่ไม่เคยหลับไหล



เมื่อวันศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2552 เวลา 18.30 น. พลพรรคร่วมปิดไฟ รวมตัวกันเดินขบวนรณรงค์ เป็นครั้งที่ 2 ณ ถนนเยาวราช เพื่อประชาสัมพันธ์ประชาชนถนนเยาวราช ร่วมกันปิดไฟในวันที่ 28 มีนาคมที่จะถึงนี้ ในการรณรงค์ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย อาทิ คณะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นำโดยรองผู้ว่า กทม. นายประกอบ จิรกิติ,สำนักสิ่งแวดล้อม,คณะผู้บริหารเขตสัมพันธวงศ์,ศิลปินดาราช่อง 7 สี นำโดย ชนะพล สัตยา , ชวัลกร วรรธนพิสิฐกุล , พิชยดนย์ พึ่งพันธ์ , อธิชนัน ศรีเสวก และเยาวชนในพื้นที่

สำหรับถนนเยาวราชถือได้ว่าเป็นย่านการค้าที่สำคัญ โดยเฉพาะยามค่ำคืนจะเป็นสถานที่ที่ไม่หยุดนิ่ง ประชาชนจับจ่ายตลอดเวลา เรียกได้ว่าสวรรค์ของคนชอบกิน จึงมีแสงสีจากไฟสว่างไสวทั่วทั้งถนน แต่ในวันที่ 28 มีนาคม ถนนเส้นนี้จะหลับไหลในความมืดชั่วคราว เพื่อแสดงถึงความร่วมมือในการรณรงค์ปิดไฟให้โลกพัก ซึ่งมีการถ่ายทอดสัญญาณภาพในวันงาน

ขบวนเดินรณรงค์เริ่มต้นตั้งแต่วงเวียนโอเดียนถึงแยกราชวงศ์สร้างความสนใจให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก ต่างเข้ามาซักถามและพร้อมให้ความร่วมมือในการรณรงค์อย่างเต็มที่



เรื่องโลกร้อนที่เราต้องเปลี่ยนแปลงก่อนภูมิอากาศจะเปลี่ยนไป



คงยังอีกหลายปีกว่าที่นักวิทยาศาสตร์จะลงมติว่าสภาพภูมิอากาศของโลกได้เปลี่ยนไปแล้วอย่างสิ้นเชิง (Climate Change) แต่เรื่องภาวะโลกร้อน (Global Warming) นั้นเป็นเรื่องที่พิสูจน์แล้วว่าเกิดขึ้นจริง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้ยืนยันว่านับแต่ที่มนุษย์เริ่มรู้จักเครื่องจักรไอน้ำและนำเอาเชื้อเพลิงฟอสซิล อันได้แก่ ถ่านหินและน้ำมันขึ้นมาใช้ นั่นคือจุดเริ่มต้นของการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณมหาศาล และค้นพบในเวลาต่อมาว่า ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจก ซึ่งประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลัก รวมถึงก๊าซมีเทน ก๊าซซีเอฟซี ก๊าซโอโซน ฯลฯ ที่เรียกว่าก๊าซเรือนกระจกนั้น จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทำนายไว้เมื่อราวศตวรรษก่อนกำลังเป็นความจริงแล้วในปัจจุบัน

“มีพยานหลักฐานใหม่ๆ ยืนยันได้ว่า ภาวะโลกร้อนขึ้นในรอบ 50 ปี ส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมของมนุษย์” IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change)

ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนนั้น เป็นที่น่าเชื่อถือได้จากปรากฏการณ์อันเป็นผลกระทบบนพื้นผิวโลก ทั้งการละลายของน้ำแข็งที่บริเวณขั้วโลกได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนมากที่สุด จากสัญญาณที่ระบุได้ชัดเจนก็คืออุณหภูมิบริเวณขั้วโลกเหนือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบทศวรรษนี้ ขณะที่แบบจำลองด้านภูมิอากาศทำนายว่า หากการละลายของน้ำแข็งยังคงอัตราเช่นนี้ แนวโน้มที่จะไม่มีน้ำแข็งปกคลุมขั้วโลกเหนือในฤดูร้อนอาจจะเกิดขึ้นภายใน 25 ปีข้างหน้า


ธารน้ำแข็งบนยอดเขาหลายแห่งทั่วโลกเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญหลายสาย เมื่อถึงฤดูร้อน น้ำแข็งก็ละลายไหลไปรวมเป็นลำธารและแม่น้ำสายต่างๆ หล่อเลี้ยงผู้คนทั่วโลก และหากธารน้ำแข็งบนเทือกเขาสูงเหล่านั้นละลายลงอย่างรวดเร็ว นั่นคือสัญญาณบอกว่า ภายใน 50 ปีข้างหน้า ประชากรทั่วโลกจะเผชิญปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดอย่างรุนแรง ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย

ป่าเขตร้อนที่ชุ่มชื้นและเป็นแหล่งที่ยังคงความหลากหลายทางชีวภาพของโลก เช่นที่ผืนป่าชื้นเขตร้อนแห่งควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ดินแดนที่ได้รับการยกย่องในฐานะมรดกโลก ด้วยความหลากหลายของพืชกว่า 700 สายพันธ์ที่ไม่พบในที่อื่นใดนอกจากผืนป่าแห่งนี้ เพิร์นหลายชนิดยังเป็นชนิดเดียวที่ไดโนเสาร์เคยกินเป็นอาหาร และที่นี่เป็นบ้านของกบมากถึงหนึ่งในสี่ของจำนวนชนิดกบที่พบได้ที่ออสเตรลีย


ในป่าที่ร้อนชื้นเช่นนี้ หลายชนิดพันธุ์จะปรับตัวดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมกับความชุ่มชื้นจากน้ำค้างและเมฆหมอก กบชนิดหนึ่งที่เรียกว่า กบไมโครไฮลิด ปรับตัวด้วยการวางไข่ในดินที่แฉะๆ ชื้นๆ และกบชนิดนี้คือหนึ่งในบรรดาพืชและสัตว์ที่จะสูญพันธุ์ เมื่อผืนดินเริ่มแห้งลง ความชุ่มชื้นเริ่มหายไป จากภาวะโลกร้อน


ด้วยความทรงจำที่บ้านเราประเทศไทย เคยมีกวางที่เขาสวยที่สุดได้สูญพันธุ์ไปแล้วจากที่ราบลุ่มภาคกลางและจากโลกของเรา ก็ไม่เคยเห็นรายงานทางวิทยาศาสตร์ใดแสดงถึงผลกระทบของการสูญพันธุ์ของเนื้อสมัน

หากว่ากบหรือพืชอีกไม่กี่ชนิดจะสูญพันธุ์ จะเกิดอะไรขึ้นกับมนุษยชาติ?
หากจะเริ่มอรรถาธิบายผลกระทบ เราอาจจะต้องหยิบยืมการเปรียบเทียบการเกิดโลกเมื่อ 4,500 ล้านปีที่แล้ว เป็นปฐมบทของโลกสีฟ้าใบนี้ นักวิทยาศาสตร์พบว่าหากเราจะย่นระยะเวลาอายุของโลกให้สั้น และเปรียบเทียบกับ 1 ปี โดย วันที่เกิด Big Bang เป็นเวลา 00.01 น. ของวันที่ 1 มกราคม เดือนสิงหาคม เริ่มเกิดดวงอาทิตย์ โลกและดาวบริวาร และ ณ ปัจจุบันคือ 24.00 น. ของวันที่ 31 ธันวาคม หรือสิ้นปีพอดี


เราจะพบว่า กว่าที่โลกจะเริ่มเย็นลงปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์ประกอบของกลุ่มก๊าซจนกระทั่งมีความเหมาะสมต่อการเกิดขึ้นของสิ่งมีชีวิตก็ต่อเมื่อเข้าสู่เดือนกันยายน ซึ่งจากหลักฐานที่ค้นพบก็เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวเท่านั้น (Oldest known life_ single celled) ที่สามารถเกิดขึ้นและอยู่รอดได้ภายใต้สภาวะอากาศ บรรยากาศที่เป็นอยู่ในช่วงนั้น และกว่าที่พืชจะสามารถเกิดขึ้นได้บนพื้นดินก็เข้าสู่วันที่ 18 ธันวาคมที่ผ่านไปนี้เอง และไดโนเสาร์ สิ่งมีชีวิตพันธุ์ยักษ์เพิ่งจะสามารถอุบัติขึ้นบนโลกเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม และกว่าที่สิ่งมีชีวิตที่สามารถยืนบนขาหลัง กระดูกสันหลังตั้งฉากกับพื้นโลกที่เรียกว่า มนุษย์ ที่มีลักษณะเหมือนปัจจุบันมากที่สุดจะสามารถกำเนิดมาได้ก็เมื่อเวลา 23.54 น. ของคืนวันสุดท้ายของปี หรือ 31 ธันวาคม นี่เอง


จากการเปรียบเทียบอายุขัยของโลกให้สั้นลงเท่ากับหนึ่งปี ทำให้เราเข้าใจอะไรๆ มากขึ้น เราเห็นภาพของวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ไปพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศโลกที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิตหลากหลายเผ่าพันธุ์ รูปร่างหน้าตาที่แปลกแตกต่างกันมากขึ้น และจากหลักฐานทางธรณีวิทยาเราก็พบว่า ตั้งแต่เริ่มมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้บนโลกนั้น โลกของเราได้ผ่านยุคน้ำแข็งหลักๆ 4 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งกินเวลาประมาณ 50,000 – 100,000 ปี โลกในยุดน้ำแข็งจะมีเพียงสิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวได้เท่านั้นจึงสามารถอยู่รอดมาได้ และแต่ละครั้งก็สูญพันธุ์ไปกว่า 90 % สิ่งมีชีวิตที่เหลือก็ดำรงเผาพันธุ์ และวิวัฒนาการแตกสายแตกต่างกันไปอีกเมื่อสิ้นสุดยุคน้ำแข็ง การสูญพันธุ์ในแต่ละยุคดังกล่าวล้วนเกิดขึ้นจากกระบวนการทางธรรมชาติที่โลกปรับเปลี่ยนไปตามพลวัตรและปัจจัยในช่วงขณะนั้นๆ แต่ไม่มีครั้งใดเลยที่มนุษย์ หรือสิ่งมีชีวิตที่คล้ายมนุษย์เป็นปัจจัยหลักของภาวะสูญพันธุ์ที่เกิดขึ้น ยกเว้นสถานการณ์ปัจจุบันที่เราเร่งปฏิกิริยาของสภาวะโลกร้อนให้เร็วขึ้น และเร็วขึ้นกว่าการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกครั้งใดๆ ในประวัติศาสตร์ที่เราสามารถศึกษาย้อนกลับไปวิเคราะห์ได้


หากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิยังคงมีแนวโน้มที่สูงขึ้น และสูงขึ้นทุกๆปี สูงกว่าค่าเฉลี่ย และก่อให้เกิดการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก เทือกเขาสูงมีธารน้ำแข็งปกคลุมน้อยลง แผ่นดินที่อยู่บนโครงสร้าง เพอร์มาฟรอสต์ละพังทะลายลงเนื้องจากชั้นหินที่เคยเย็นยะเยือกเริ่มอุ่นขึ้น น้ำแข็งที่แทรกตัวอยู่ในชั้นหินเริ่มละลาย แล้วชั้นหินก็เริ่มไม่มั่นคงอีกต่อไป เมื่ออุณหภูมิของน้ำทะเลเริ่มสูงขึ้นกว่าที่ปะการังจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ กล่าวก็คือสาหร่ายที่อยู่และสัมพันธ์กับปะกางรัง พึ่งพาประโยชน์ซึ่งกันและกัน เมื่อน้ำเลเริ่มร้อนกว่าเดิม ปะการังก็จะขับสาหร่ายออกไปจากเซลล์ ปะการังก็จะเริ่มตาย เป็นปรากฏการณ์ที่เราเรียกว่า “ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว” ทรัพยากรทางทะเลอันเป็นแหล่งโปรตีนเลี้ยงคนทั้งโลกก็จะเสียสมดุล อาหารทะเลจะน้อยลง หรือเมื่อแผ่นพืดน้ำแข็งที่ทับถมบนซากพืชสัตว์โบราณซึ่งช่วยควบคุมการเกิดมีเทนได้เริ่มละลายหายไป การย่อยสลายจะเริ่มเกิดขึ้นและผลิตมีเทนปริมาณมหาศาลลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นนั้นยากที่คาดเดาได้ แต่ที่แน่ๆ โลกจะร้อนขึ้นไปจนถึงระดับวิกฤติ หรือเข้าสู่จุดที่เรียกว่าจุดพลักผัน (Tipping Point) และเมื่อเราเข้าสู่จุดพลักผัน โลกก็จะเปลี่ยนไปสิ้นเชิงอย่างไม่มีทางย้อนกลับ

Earth Hour จะช่วยอะไรได้?
คำตอบก็คือ Earth Hour เพียงหนึ่งชั่วโมง ช่วยอะไรไม่ได้เลย เรายังคงมีก๊าซเรือนกระจกปริมาณมหาศาลลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศในทุกๆ วัน และมากขึ้นทุกๆ ปี

ถ้าเป็นเช่นนั้นและเราควรจะทำอย่างไร?
นักวิทยาศาสตร์ IPCC ต่างเสนอพ้องต้องกันว่า เราต้องจำกัดให้อุณหภูมิโลกไม่ให้สูงไปกว่าค่าเฉลี่ยมากกว่า 2 องศาเซลเซียส ซึ่งยังเป็นจุดที่เรายังพอจัดการอะไรๆ ได้บ้าง โลกจะยังไม่เข้าสู่จุดพลิกผัน และเรายังพอที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมและกิจกรรมที่จะปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่ให้มากไปกว่านี้ และให้ลดน้อยลงกว่าเดิมถึง 60 % ซึ่งเรามีโอกาสน้อยมากที่จะประสบความสำเร็จในความพยายามนี้ หากทั้งโลกไม่ประสานพลังกัน และทำงานร่วมกัน


ถุงผ้าไม่ได้ช่วยลดโลกร้อน แต่การใช้ถุงผ้าแทนพลาสติกบรรจุผักผลไม้ได้ทั้งหมดที่เราจับจ่ายใช้สอยในตลาดสดก็พอช่วยได้บ้าง การเปลี่ยนหลอดไฟแบบหลอดไส้เป็นหลอดตะเกียบจะลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าได้มหาศาล ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานถ่านหิน หรือน้ำมัน หรือเขื่อนที่การก่อสร้างน้ำจะท่วมต้นไม้แหล่งเก็บกักคาร์บอนตามธรรมชาติ ก็จะเป็นมิตรกับโลกเรามากขึ้น การทานอาหารที่มี Food Mile น้อยๆ หรือเลือกอาหารที่ปลูกและผลิตในท้องถิ่นก็จะลดปริมาณเชื้อเพลิงจากการขนส่ง เดินและปั่นจักรยาน หรือใช้บริการขนส่งมวลชนมากกว่าการใช้รถยนต์ส่วนตัว รวมทั้งใช้พลังงานทางเลือกที่สะอาดมากกว่าพึ่งพาเพียงเชื้อเพลิงฟอสซิล และถ้าเราทำได้มากไปกว่านี้ อาจเป็นทางรอดเดียวที่เรามีอยู่ ณ ขณะนี้


ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่มีโอกาสอันดียิ่งที่จะได้น้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ เพราะหนึ่งในองค์ประกอบของแนวคิดพระราชทาน คือ การรู้ว่าเราทำอะไรอยู่ มากเกินไปหรือไม่ และคำว่า “มาก” นี้อาจตีความกับสถานการณ์วิกฤตินี้ได้ว่า ส่งผลกระทบมากเกินไปหรือไม่ มีภูมิคุ้มกันที่ไม่เพียงตัวเรา แต่ภูมิคุ้มกันกับระบบนิเวศ หรือระบบของโลกที่จะต้องอยู่อย่างสมดุล

“ก๊าซเรือนกระจกจะเข้มข้นถึงจุดพลิกผัน หาก “สถานการณ์ยังคงเป็นไปอย่างเคย” เราจึงมีเวลาในการปรับเปลี่ยนไม่มากนัก เราจะต้องปรับตัวสู่สังคม “คาร์บอนต่ำ” เพื่อช่วยกันรักษาโลกที่เป็นดุจของขวัญล้ำค่า ด้วยเพราะโลกอาจเป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงเดียวในจักรวาลที่เป็นเช่นนี้ และเราจะต้องส่งมอบมรดกนี้สู่คนรุ่นต่อๆไป”

อ้างอิง;
· กองบรรณาธิการนิตยสารสารคดี,2551, 50 เรื่องต้องรู้อยู่กับโลกร้อน, สำนักพิมพ์สารคดี
· มาร์ก ไลนัส, ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ – พลอยแสง เอกญาติ แปล, 2551, 6 องศาโลกาวินาศ, สำนักพิมพ์มติชน
· ภาพบิ๊กแบง; http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/221/bigbang.jpg
· ภาพปฏิทินเอกภพ; http://www.bruceeisner.com/photos/uncategorized/cosmiccalendar.gif





วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2552

ขบวนรณรงค์ ปิดไฟ...ให้โลกพัก ณ ถนนสีลม






18 มีนาคม 2552 เวลา 11.00 น. ขบวนบริเวณหน้าโรงแรมดุสิตธานีรวมพล “ปิดไฟ...ให้โลกพัก” เริ่มเดินเชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมปิดไฟในวันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พร้อมด้วยตัวแทนจากสำนักงานเขตบางรักและสาธร นักเรียน นักศึกษา ศิลปินดาราจากTrue ตัวแทนจาก 7-Eleven และอีกหลายหน่วยงาน พร้อมทั้งตัวแทนจากโรงแรมดุสิตธานี

ตลอดเส้นทางการเดินรณรงค์จากหน้าโรงแรมดุสิตไปตามสถานีรถไฟฟ้าสีลม BTS และรถไฟฟ้ามหานคร ผ่านด้านหน้าโรบินสัน สีลม อาคารไอทีเอฟ จนถึงซอยละลายทรัพย์ มีผู้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และพร้อมที่จะร่วมกันปิดไฟในครั้งนี้








วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2552

Earth Hour; a Happy Hour for Our Planet

Earth Hour; a Happy Hour for Our Planet

ถ้าการรณรงค์เรื่องภาวะโลกร้อนยังไม่มาถึงตัวเรา หรือเราไม่รับรู้ได้ถึงการเปลี่ยนไปของสภาวะอากาศใน ทุกๆ ปีแล้ว เราคงเป็นอีกหนึ่งในกลุ่มผู้ตกขบวนของกระแสการกระตุ้นการรับรู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงร่วมกันของผู้คนทั้งโลกในเรื่องภาวะโลกร้อน

และถ้าเราเพียงรับรู้ แต่ยังคงดำเนินชีวิตประจำวันด้วยการบริโภคเกินขนาด เกินกว่าที่โลกจะสามารถรองรับได้ และถ้าคนทั้งโลกยังคงดำเนินชีวิตอุปมาเหมือน “กบต้ม” (ที่อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา อัลกอร์ ได้เปรียบเทียบไว้ในภาพยนตร์กึ่งสารคดี The Inconvenient Truth) โลกของเราก็คงมีเวลาไม่มาก ถ้าจะกล่าวให้ถูกต้องก็คือ ... เราคงมีเวลาไม่มากนักในการสร้างการเปลี่ยนแปลงหากเรายังเพิกเฉยต่อสัญญาณเตือนจากธรรมชาติ

จากกิจกรรมระดับประเทศออสเตรเลียในปี พ.ศ. 2550 เมื่อ WWF ได้ออก Campaign เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนหันมาใส่ใจในปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลก นั่นก็คือก้าวแรกของการจัดกิจกรรม Earth Hour กับการต้อนรับด้วยการร่วมกันปิดไฟกว่า 2.2 ล้านครัวเรือน/บริษัทธุรกิจ ในปี 2551 WWF จึงได้ขยายการรณรงค์ไปยังภูมิภาคอื่นของโลก โดยมี มหานครใหญ่ 24 แห่ง เข้าร่วมการรณรงค์ ได้แก่ แอตแลนต้า ซานฟรานซิสโก ออตตาวา แวนคูเวอร์ ฟีนิกซ์ มอนทรีออล ดับบลิน ซิดนีย์ เพิทธ์ เมลเบิร์น บริสเบน แคนเบอร่า โคเป็นเฮเกน อาฮุส อัลเบิร์ก โอเดนส์ มนิลา ซูวา เลาโทก้า ชิคาโก เทล อาวิฟ อดาเลด โตรอนโต และกรุงเทพมหานคร
ในปีนี้ Earth Hour ได้เปลี่ยนแปลงไปสู่การตัดสินของประชากรโลกว่าจะเลือกข้างใด
ระหว่าง....โลก & สภาวะโลกร้อน

และนี่คือการพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ที่ผู้คนทุกอายุทุกผิวพรรณ ที่เชื้อชาติ สัญชาติ ภาษาและวัฒนธรรม
จะได้ลงประชามติเลือกข้างระหว่างการที่จะปิดไฟเพื่อให้ Earth Hour ได้เป็น Happy Hour for Our Planet หรือจะนิ่งดูดายและเป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายเลือกข้างสภาวะโลกร้อน ด้วยเป้าหมายที่ WWF พร้อมพันธมิตรทั่วโลกได้กำหนดว่า 1 พันล้านคะแนนเสียงจะเลือกข้างที่จะส่งผลสั่นสะเทือนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปยังการประชุม the Global Climate Change Conference Copenhagen 2009 ซึ่งกลุ่มผู้นำของโลกจะได้พิจารณาแนวทางเพื่อสร้างยุทธศาสตร์ใหม่ขึ้นมาแทนพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)

การจัดกิจกรรม Earth Hour “ปิดไฟ...ให้โลกพัก” ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการปิดไฟพร้อมกันทั่วโลก 1 ชั่วโมง จากเวลา 2 ทุ่ม – 3 ทุ่มตรง วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2552 นี้ เวลา18.30-21.30 น. ซึ่ง WWFประเทศไทยได้ร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ จัดกิจกรรม ณ ถนนข้าวสาร พบกับการแสดงคอนเสิร์ต แฟชั่นโชว์ และการเสวนาปัญหาโลกร้อน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ
มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการลงประชามติ ปิดไฟเทคะแนนเสียงเพื่อเริ่มสร้างโลกที่น่าอยู่และยั่งยืนกันเถอะ
ครับ....
การแสดงคำมั่นสัญญาของประชาชนทำได้โดยการลงทะเบียน

หมายเหตุ; ข้อมูล ณ วันที่ 20 มีนาคม 2552 มีหน่วยงานและผู้สนใจยืนยันร่วมปิดไฟมากกว่า 80 ประเทศ มากกว่า 1,760 เมืองใหญ่ 18,160 ของบริษัทธุรกิจ 5,259 องค์กร และ7,382 โรงเรียน

เราพร้อม ทั่วโลกพร้อม

เราพร้อม ทั่วโลกพร้อม

ปิดไฟ 1 ชม. พร้อมกันทั่วโลก
2 ทุ่มตรง วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2552

ขอเชิญร่วมงานปิดไฟ 1 ชั่วโมงพร้อมกันทั่วโลก 18.30-21.30 ณ ถนนข้าวสาร พบกับการแสดงคอนเสิร์ต แฟชั่นโชว์ และการเสวนาปัญหาโลกร้อน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ

วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2552

แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ "ปิดไฟ....ให้โลกพัก"


เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2552 ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานงานแถลงข่าวกิจกรรมรณรงค์ “ปิดไฟ...ให้โลกพัก” หรือ “Earth Hour 2009” ร่วมกับ WWF ประเทศไทย และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ให้การสนับสนุน พร้อมทั้งตัวแทน 3 คน ได้แก่ บีม กวี ตันจรารักษ์ ในตำแหน่งทูตของ WWFประเทศไทย นาตาลี เกลโบวา และ พอล ภัทรพล ศิลปาจารย์ ณ สวนสราญรมย์ เขตพระนครโครงการ Earth Hour นี้เริ่มต้นครั้งแรกในปี 2550 โดย WWF ประเทศออสเตรเลีย เป็นการรณรงค์ให้ประชาชน หน่วยงานรัฐ และภาคเอกชน รวมพลังแสดงการลดการใช้พลังงานด้วยการปิดไฟพร้อมกัน 1 ชั่วโมง เพื่อเป็นการกระตุ้นและปลุกกระแสให้คนทั่วโลกได้ตระหนักในการประหยัดพลังงาน อันเป็นการแก้ไขปัญหาในภาพรวมของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภาวะโลกร้อนที่เป็นเรื่องใกล้ตัวและกำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในปัจจุบัน โดยในปี 2550 ได้รับความร่วมมือจากคนจำนวนกว่า 2.2 ล้านคน และสามารถลดการใช้พลังงานได้ 10.2% เทียบได้กับปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงของรถยนต์บนท้องถนนที่จะลดลงถึง 48,000 คันต่อปี

ในปี 2551 WWF ได้ขยายการรณรงค์โดยมีมหานครใหญ่กว่า 24 แห่งเข้าร่วม สำหรับ WWF ประเทศไทย ได้ร่วมกับกรุงเทพมหานคร และอีกกว่า 40 องค์กรพันธมิตรจากภาครัฐ และเอกชน ภายใต้การสนับสนุนหลักจากบริษัท คาร์ฟูร์ ประเทศไทย จำกัด ผลสำเร็จในวันที่ 29 มีนาคม 2551 ณ ลานเซ็นทรัลเวิลด์ สามารถลดการใช้พลังงานได้ถึง 73.34 เมกกะวัตต์ เทียบได้กับการปิดไฟฟ้า แสงสว่างชนิดหลอดผอมขนาด 36 วัตต์ จำนวน 2 ล้านหลอด

ปิดไฟ...ให้โลกพัก” หรือ Earth Hour 2009 ได้ถูกสานต่อพร้อมกัน 931 เมืองทั่วโลก อาทิเช่น ลอนดอน แมนเชสเตอร์ ชิคาโก ลาสเวกัส แอตแลนตา เคปทาวน์ มิลาน ปารีส อาร์มเตอร์ดัม สิงคโปร์ ซิดนีย์ เป็นต้น โดยจะปิดไฟในวันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2552 ตั้งแต่ เวลา 20.00-21.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของแต่ละเมือง โดยปีนี้กรุงเทพมหานครได้กำหนดจัดกิจกรรมขึ้น ณ ถนนข้าวสาร เขตพระนคร และยังกำหนดการเดินรณรงค์เพื่อขอความร่วมมือจากประชาชนทุกคนให้ร่วมปิดไฟในวันเวลาดังกล่าว

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กล่าวเชิญชวนว่า “การรณรงค์ปิดไฟไม่เพียงแต่เป็นการสร้างความตระหนักและจิตสำนึก ทั้งยังเป็นการสร้างความร่วมมือไปยังทุกภาคส่วนในการลดการใช้พลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากประชาชนร่วมแรงร่วมใจกันปรับพฤติกรรมที่เคยใช้พลังงานสิ้นเปลือง มีสำนึก และปฏิบัติในชีวิตประจำวันจะนำไปสู่ความสำเร็จในการอนุรักษ์และลดการใช้พลังงาน ประหยัดงบประมาณของประเทศ อีกทั้งยังส่งผลถึงการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน กรุงเทพมหานครจึงขอเชิญชวนประชาชน ร่วมกันปิดไฟที่ไม่จำเป็นภายในบ้าน ในวันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2552 เวลา 2 ทุ่ม- 3 ทุ่ม เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการ รวมพลัง ลดการใช้พลังงาน ลดภาวะโลกร้อนของคนกรุงเทพ”

กำหนดการจัดกิจกรรม Earth Hour วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2552

วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2552
ณ ถนนข้าวสาร เขตพระนคร

18.30 น.
คอนเสิร์ตรณรงค์ลดโลกร้อน
แฟชั่นโชว์ลดโลกร้อน

19.45 น.
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวรายงาน
ฯพณฯนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงาน

20.00 น.
ฯพณฯนายกรัฐมนตรี กดปุ่มปิดไฟ
การเสวนา เรื่องโลกร้อน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ

ผู้ร่วมเสวนา
1.ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หัวข้อ การรณรงค์ลดโลกร้อนของกรุงเทพมหานคร

2.ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
หัวข้อ ปัจจุบันวิกฤตโลกร้อนคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว

3.นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ
หัวข้อ โลกร้อนกับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในปัจจุบัน

4.ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
หัวข้อ การรณรงค์ลดโลกร้อนด้วยการประหยัดพลังงาน

5.ผู้แทนบริษัทเซ็นคาร์ จำกัด
คุณกรินทร์ พัฒนศักดิ์
ผู้อำนวยการฝ่ายคุณภาพห้าง Carrefour
หัวข้อ จาก 1 ปีที่ผ่านมาหลังจากห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์ประกาศการประหยัดพลังงานเพื่อลดโลกร้อนได้ผลอย่างไร และมีแผนจะดำเนินการอย่างไร และภาคเอกชนควรให้การสนับสนุนอย่างไร

6.คุณบีม กวี ตันจรารักษ์ ทูต WWF ประเทศไทย
หัวข้อ ในมุมมองของคนรุ่นใหม่ควรจะสนับสนุนการดำเนินการอย่างไร

7.คุณนาตาลี เกลโบวา
หัวข้อ ในฐานะที่เป็น Idol ของผู้หญิงจะช่วยกันแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนได้อย่างไร

8.คุณพอล ภัทรพล ศิลปาจารย์
หัวข้อ ความตระหนักของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจในปัญหาโลกร้อน เป็นอย่างไร

-การถายทอดสัญญาณภาพการปิดไฟจากถนนน 5 สาย ขึ้นจอแสดงภาพ
-การถ่ายทอดสัญญาณการปิดไฟจากพระบรมมหาราชวัง,วัดอรุณ,สะพานพระราม8
-การถ่ายทอดสัญญาณภาพการปิดไฟจากประเทศที่ปิดไฟก่อนประเทศไทย

21.00 น.
ฯพณฯนายกรัฐมนตรี กดปุ่มเปิดไฟ
นำเสนอข้อมูลการลดปริมาณไฟฟ้าและปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการไฟฟ้านครหลวง

21.30 น. เสร็จสิ้นกิจกรรม

กิจกรรมเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์งาน ปิดไฟ...ให้โลกพัก Earth Hour 2009

ขอเชิญประชาชนทุกท่านเข้าร่วมเดินรณรงค์ในครั้งนี้เพื่อโลกของเราทุกคน นัดรวมพลทุกท่าน ณ วันและเวลาดังกล่าว กิจกรรมรณรงค์เพื่อลดการใช้พลังงานครั้งยิ่งใหญ่ที่เราจะได้ทำร่วมกัน
การเดินรณรงค์ครั้งนี้ประกอบด้วยส่วนของคณะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภาครัฐและเอกชน ภาคธุรกิจ ศิลปินดารา เยาวชนในกรุงเทพและประชาชนจากหลายพื้นที่ และ WWF ประเทศไทย

วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2552
สถานที่: ถนนสีลม
เวลา : 12.00 น. – 13.00 น.

รายละเอียดกิจกรรม
11.00 น. รวมพล ณ จุดนัดพบ ลานหน้าโรงแรมดุสิตธานี
11.30 น. แบ่งแถวการเดินรณรงค์ออกเป็น 3 เส้นทาง
- ขบวนที่ 1 คณะผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร, รองผู้ว่ากทม., ผอ.สสส., สำนักสิ่งแวดล้อม, ศิลปินดาราจาก AF,WWF ประเทศไทย, กลุ่มเยาวชนรักษ์กรุงเทพฯ ร่วมเดินรณรงค์สู่ซอยละลายทรัพย์
- ขบวนที่ 2 คณะผู้บริหารเขตบางรัก และ นักเรียนจากโรงเรียนในเขต ร่วมเดินรณรงค์ขึ้นบนสถานีรถไฟฟ้าสีลมทั้ง BTS และรถไฟฟ้ามหานคร
- ขบวนที่ 3 คณะผู้บริหารเขตสาทร และ นักเรียนจากโรงเรียนในเขต ร่วมเดินรณรงค์ด้านห้างโรบินสันสีลม มุ่งสู่อาคารไอทีเอฟ


วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2552
สถานที่: ถนนเยาวราช
เวลา : 16.30 น. – 18.00 น.

รายละเอียดกิจกรรม
16.00 น. รวมพล ณ จุดนัดพบ วงเวียนโอเดียน
16.30 น. แบ่งแถวการเดินรณรงค์ออกเป็น 2 เส้นทาง
- ขบวนที่ 1 คณะผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร, รองผู้ว่ากทม., ผอ.สสส., สำนักสิ่งแวดล้อม, ศิลปินดาราจากช่อง 7สี, WWF ประเทศไทย, กลุ่มเยาวชนรักษ์กรุงเทพฯ ร่วมเดินรณรงค์จากวงเวียนโอเดียน ออกสู่ถนนเยาวราชฝั่งขวา จึงถึงแยกราชวงศ์
- ขบวนที่ 2 คณะผู้บริหารเขตสัมพันธวงศ์ และ นักเรียนจากโรงเรียนในเขต ร่วมเดินรณรงค์ฝั่งซ้ายมือ จึงถึงแยกราชวงศ์


วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552
สถานที่: สยาม (ถนนพระราม 1)
เวลา : 13.00 น. – 15.00 น.

รายละเอียดกิจกรรม
12.30 น. รวมพล ณ จุดนัดพบ สถานีไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยาม
13.00 น. แบ่งแถวการเดินรณรงค์ออกเป็น 3 เส้นทาง

- ขบวนที่ 1 คณะผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร, รองผู้ว่ากทม., ผอ.สสส., สำนักสิ่งแวดล้อม, ศิลปินดาราเด็ก,WWF ประเทศไทย, กลุ่มเยาวชนรักษ์กรุงเทพฯ ร่วมเดินรณรงค์จากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม สู่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน, สยามเซ็นเตอร์ และ สยามดิสคัฟเวอรี่
- ขบวนที่ 2 คณะผู้บริหารเขตปทุมวัน และ นักเรียนจากโรงเรียนในเขต ร่วมเดินรณรงค์ขึ้นบนสถานีรถไฟฟ้าสยาม สู่ฝั่งสยามสแควร์ สิ้นสุดที่โรงแรมโวเทล
- ขบวนที่ 3 กลุ่มตัวแทน WWF และนักเรียน ร่วมเดินรณรงค์สู่ห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง


วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552
สถานที่: ถนนข้าวสาร
เวลา : 19.00 น. – 20.00 น.

รายละเอียดกิจกรรม
18.30 น. รวมพล ณ จุดนัดพบ สถานีตำรวจชนะสงคราม (ด้านข้าง)
19.00 น. แบ่งแถวการเดินรณรงค์ออกเป็น 1 เส้นทาง
- ขบวนที่ 1 คณะผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร, รองผู้ว่ากทม., ผอ.สสส., สำนักสิ่งแวดล้อม, ศิลปินดาราจากช่อง 3, WWF ประเทศไทย, คณะผู้บริหารจากสำนักงานเขตพระนคร, สมาคมผู้ประกอบการค้าถนนข้าวสาร, สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจถนนข้าวสาร ร่วมเดินรณรงค์จากสถานีตำรวจชนะสงคราม สิ้นสุดที่แยกถนนตะนาว

หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการ "ปิดไฟ...ให้โลกพัก"


Earth Hour - 2009
ปิดไฟ...ให้โลกพัก”
หน่วยงานที่ร่วมกันเป็นพันธมิตรกับกิจกรรมนี้
6.MSN
7.7-Eleven
8.สถานีโทรทัศน์ ช่อง 3
9.สถานีโทรทัศน์ ช่อง 5
10.สถานีโทรทัศน์ ช่อง 7
11.โมเดิร์นไนน์ ทีวี
12.การไฟฟ้านครหลวง
13.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
14.TOT
15. NBT
16.Green Wave
17.Cool93
18.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
19.สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
20.กระทรวงศึกษาธิการ
21.BTS
22.สหกรณ์แท็กซี่
23.ขสมก
24.บมจ.การบินไทย
25.ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล
26.โรบินสัน
27.เดอะมอลล์
28.สยามพารากอน
29.บิ๊กซี
30.ฟู้ดแลนด์
31.อาคารสูง
32.สมาคมโรงแรมไทย
33.สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
34.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
35.สมาคมธนาคารไทย
36.สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต
37.เรือโดยสารคลองแสนแสบ
38.เรือด่วนเจ้าพระยา
39.มหาวิทยาลัยทั่วกรุงเทพมหานคร
40.ประชาชนทั่วประเทศ


ประเทศไทยพร้อม...ทั่วโลกพร้อม มาปิดไฟที่ไมใช้กันนะ
อย่าลืมเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2552 นี้ และทุกๆ วันที่สามารถทำได้





















วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552

Press Release:


Former Miss Universe Finds Beauty in Earth

5 March 2009, Bangkok: Model and charity activist Natalie Glebova has joined Earth Hour efforts to address global climate change. Ms. Glebova was crowned Miss Universe in 2005 and has subsequently been active in a number of social welfare and human health issues. As an adopted resident of Thailand, the Russian-born Canadian expressed strong appreciation for Earth Hour’s planet-spanning approach.

“Climate change stands to harm people the world over and it’s going to take global efforts to fix it. Residents of cities everywhere are uniting to show that we can help solve the problem by working together to cut energy consumption.”

Ms. Glebova’s home base, Bangkok, is one of over 700 cities participating in this year’s Earth Hour campaign. Like many other coastal and tropical centers around the world, it faces potentially disastrous consequences from climate change. Sea levels are projected to rise, storms to worsen, and disease rates to increase as the planet gets hotter. Nonetheless,

Ms. Glebova expressed great optimism about coming Earth Hour events.

“I feel the people of Thailand see Earth Hour as a chance to speak out and act against climate change. By uniting with other cities around the world, we have a chance to really show how committed we are to this,” she said.

Millions of people will celebrate Earth Hour by switch off their lights for one hour at 8.30pm on 28 March. The event in 2009 aims to empower citizens from all over the world with the ability to voice their concern on climate change. Essentially, it is the world’s first global vote on the issue and casting the ballot is as easy as flicking a switch.

Earth Hour is a WWF initiative that began in Sydney in 2007 as a one-city campaign. In the first year’s event, over two million people switched off their lights for one hour. Following this in 2008, the lights out campaign went global. Bangkok, Thailand joined 371 cities, in 35 countries to show Thailand’s commitment.

Earth Hour 2009 is well on the way to involving one billion people in 1,000 cities around the world.

For more information contact:

Ms. Suchawadee Khaosamank
Tel +662 942-7691 through 942-7694
skhaosamank@wwfgreatermekong.org

วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2552

Thailand's Cities Embrace Earth Hour

Thailand and many of it's cities are gearing up for Earth Hour 2009.

Local businesses in Thailand are contributing to Earth Hour and will be switching off their lights on the night. Thousands of people, around Thailand, will be coming together to light a candle in support of this global warming awareness initiative.

An estimated 50 to 100 million people around the world switched off their lights for Earth Hour in 2008, and global landmarks including the Golden Gate Bridge, Rome’s Colosseum, the Coke billboard in Times Square and Jumeirah Hotel in Dubai darkened for one hour.

In 2009, Earth Hour aims to reach 1 billion people around the world in more than 1000 cities involving business, government and the community in the world’s largest global action on climate change on 28 March 2009.

In 2009, millions of people from all walks of life will join together for Earth Hour and show the world that it’s possible to take action on global warming.

Come on Thailand, join us for Earth Hour 2009, turn off your lights at 8.30pm Saturday 28 March and sign-up here at earthhour.org.